อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, วัตถุ-จารึกบนหิน, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว ชัยภูมิ, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 03:02:11 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดกู่บ้านหนองบัว |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ชย. 6, K. 402 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 18 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด (เป็นจำลองอักษร) |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
ชิ้นจารึกชำรุด |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 8 นิ้ว ยาว 1 ศอก |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชย. 6” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดกู่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่อำเภอสูงเนิน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฎข้อมูล (สำรวจข้อมูลเมื่อ 3 มีนาคม 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 252-256. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกหลักนี้ ไม่มีสำเนาจารึกและภาพถ่าย มีเพียงแผ่นจำลองรูปอักษรซึ่งเป็นการจำลองที่คลาดเคลื่อนอยู่บ้าง บัญชีทะเบียนประวัติบอกว่า เจ้าหน้าที่อำเภอสูงเนินได้ส่งแผ่นจำลองรูปอักษรจารึกให้กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ร.ศ. 131 (ตรงกับ พ.ศ. 2455) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ากรมศิลปากรได้รับแผ่นจำลองรูปอักษรจารึกนี้เมื่อใด เบื้องหลังแผ่นจำลองรูปอักษรมีคำอธิบายประกอบเป็นสองข้อดังนี้ “1. ก้อนศิลาก้อนนี้ มีอยู่ที่วัดกู่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองๆ ไชยภูมิ กว้าง 8 นิ้ว ยาว 3 ศอก เป็นรอยชำรุดหักไปเสียครึ่งหนึ่ง ครึ่งที่หายไม่ทราบจะตกไปอยู่ที่ใด หาไม่พบ 2. มีบัวอักษรจะเป็นอักษรภาษาใดอ่านไม่ออก แต่แผ่นศิลาที่จารึกตัวอักษรนั้นแตกหลุดไปเป็นกาบ หายไปประมาณครึ่ง ส่วนที่ได้จำลองมานี้ ตัวอักษรใหญ่เล็กประมาณเท่าที่จำลองมานี้” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความที่ปรากฏในชิ้นส่วนของจารึกนี้ เป็นการยอพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า พระองค์ได้ชนะในการทำสงคราม ได้ขยายอาณาจักรออกไปกว้างขวางจนเป็นเกียรติประวัติของพระองค์ อีกทั้งทรงมีพระเมตตา โอบอ้อมอารีบริจาคทาน เป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั่วไป พระองค์มีรูปกายที่งดงามกว่ากามเทพ ได้บริหารประเทศให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความตั้งแต่บรรทัดที่ 1-10 ของจารึกหลักนี้ ตรงกับข้อความในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 8-17 ของจารึกด่านประคำ จารึกเมืองพิมาย จารึกตาเมียนโตจ และจารึกปราสาท ซึ่งข้อความในจารึกเหล่านี้ล้วนกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างโรงพยาบาล ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะเป็นจารึกอีกหลักหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1724-1761 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529) |