โพสต์เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2553 09:40:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2566 12:07:47 )
ชื่อจารึก |
จารึกโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ แผ่นที่ 12 (องคตรบกับยักษ์ปักหลั่น) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นหิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พนักรอบพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 576. |
ประวัติ |
จารึกโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏอยู่ที่พนักรอบพระอุโบสถ ภายใต้ภาพจำหลักจำนวน 152 ภาพ แต่ละภาพมีจารึกโคลงประกอบ 1 บท นอกจากนี้ ยังมีจารึกโคลงอีก 2 บทที่ปรากฏอยู่โดยไม่มีภาพ ดังนั้น จารึกทั้งหมดจึงมีจำนวนทั้งสิ้น 154 แผ่น โดยเริ่มต้นตั้งแต่พนักทางทิศตะวันออกของอุโบสถ เวียนขวาไปจบลงทางทิศเหนือ จารึกดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2472 ดร. นิยะดา เหล่าสุนทร สันนิษฐานว่า คงคัดลอกจากจารึกใต้ภาพซึ่งในขณะนั้นก็คงเลือนลางไปบ้างแล้ว จึงขาดหายไป 11 บท ดังนั้น การตีพิมพ์ครั้งล่าสุด ใน พ.ศ. 2544 จึงมีการสอบค้นจากต้นฉบับตัวเขียนของโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ จำนวน 2 เล่ม เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
จารึกบรรยายภาพจำหลักเรื่องรามเกียรติ์ ตอนองคตรบกับยักษ์ปักหลั่น ยักษ์ปักหลั่นบอกประวัติตนให้แก่องคต |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการจำหลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ โดยมีการจารึกโคลงประกอบไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2552) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2557), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์, 2552-2554 (ไฟล์; 12_2) |