จารึกปราสาทหินพิมาย 4

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:08:05 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Nouvelles Inscriptions de P’imai (K. 954), หลักที่ 60 จารึกบนฐานศิลา, นม.13, จารึกหลักที่ 60, K.954, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/2508

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ฐานปฏิมากรรมรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 84 ซม. ยาว 84 ซม.สูง 63 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 13”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VII กำหนดเป็น “Nouvelles Inscriptions de P’imai (K. 954)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 60 จารึกบนฐานศิลา”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพิมาย 4”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2497

สถานที่พบ

บริเวณระเบียงคดด้านใต้ซีกตะวันออกปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 20/1/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 126-127.
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2502) : 55.
3) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 129-130.
4) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 59-61.

ประวัติ

เมื่อปีพุทธศักราช 2497 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะบริเวณปรางค์ใหญ่ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้พบศิลาจารึก นม. 13 นี้ กับ จารึก นม. 29

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงศรีวิเรนทราธิบดีวรมะ แห่งเมืองโฉกวะกุล ได้สร้างรูปกมรเตงชคตเสนาบดี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Goerge Cœdès, “Nouvelles Inscriptions de P’imai (K. 954) ,” in Inscriptions du Cambodge vol. VII (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964), 126-127.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ. “จารึกปราสาทหินพิมาย 4,” จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 59-61.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 60 จารึกบนฐานศิลา,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 129-130.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ และแสง มนวิทูร, “ศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรที่ปราสาทหินพิมาย,” ศิลปากร 2, 5 (มกราคม 2502) : 55.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)