จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกสำนักนางขาว

จารึก

จารึกสำนักนางขาว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2568 16:01:27 )

ชื่อจารึก

จารึกสำนักนางขาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ขก.12, K.1094, ขก./13, ศิลาจารึกมรตาญศรีราชปติวรมัน, จารึกสำนักนางขาว (ศาลานางขาว), Inscription provement de Samnak Nang Khaw , จารึกศาลานางขาวNadun, Mahasarakham K. 1094, Stèle de Nadun (K. 1094), ศิลาจารึกศาลานางขาว

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

ชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 9 ซม. สูง 22.5 ซม. หนา 4.3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 12”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น กำหนดเป็น “ขก./13”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 28 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2527) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกมรตาญศรีราชปติวรมัน”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกสำนักนางขาว”
5) ในหนังสือ ภาษา-จารึก ฉบับที่ 3 กำหนดเป็น “จารึกสำนักนางขาว (ศาลานางขาว)” และ “Inscription provement de Samnak Nang Khaw Nadun, Mahasarakham K. 1094”
6) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Stèle de Nadun (K. 1094)”
7) ในหนังสือ นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กำหนดเป็น “ศิลาจารึกศาลานางขาว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 6 กุมภาพันธ์ 2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) โบราณวัตถุสถานในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515), 18.
2) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 28 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน 2527) : 21-23.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 73-76.
4) ภาษา-จารึก ฉบับที่ 3 (กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534), 45-54.
5) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 172-174.
6) นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น (กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2543), 98.
7) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 477-478.

ประวัติ

กองโบราณคดีได้ส่งศิลาจารึกหลักนี้ มามอบให้แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก (ชื่อในสมัยนั้น) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อต้นเดือน พ.ศ. 2514 เพื่อดำเนินการอ่านและแปลออกเป็นอักษรและภาษาไทย

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาในจารึกได้กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือพระบาทบรมไกวัลยบท (พ.ศ. 1623-1650) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาข้าราชการผู้มีนามว่า ราชปติวรมัน ซึ่งเป็นนามซ้ำกันทั้ง 3 คนนี้ จารึกสุพรรณบัตร เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในกัมรเตงชคตหรือเทวสถาน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 9-10 ได้ระบุพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1623-1650

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Naiyana Prongthura, “Inscription provement de Samnak Nang Khaw Nadun, Mahasarakham K. 1094,” ใน ภาษา-จารึก ฉบับที่ 3 คุรุรำลึก (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก และชมรมรวมใจจารึก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534), 51-54.
2) Saveros Pou, “Stèle de Nadun (K. 1094),” in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d'Extrême-Orient, 1996), 172-174.
3) นัยนา โปร่งธุระ, “จารึกสำนักนางขาว (ศาลานางขาว),” ใน ภาษา-จารึก ฉบับที่ 3 คุรุรำลึก (กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534), 45-50.
4) สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น (กรุงเทพฯ : สำนัก., 2543), 98. 5) ประยูร ไพบูลย์สุวรรณ, โบราณวัตถุสถานในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515), 18.
6) อำไพ คำโท, “จารึกสำนักนางขาว,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 73-76.
7) อำไพ คำโท, “ศิลาจารึกมรตาญศรีราชปติวรมัน,” ศิลปากร 28, 5 (พฤศจิกายน 2527) : 21-23.
8) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, "," ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 477-478.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-07, KhK_011)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566
4) ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 330.