โพสต์เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2553 14:42:25 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563 15:34:19 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคที่คอสองศาลาหลังใต้ แผ่นที่ 3 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นหิน |
ขนาดวัตถุ |
- |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
- |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
คอสองศาลาคู่ (หลังใต้) หน้าพระมหาเจดีย์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 296. |
ประวัติ |
จารึกเรื่องริ้วกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราทางสถลมารคนี้ ในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสระบุว่า ต้นกระบวนเขียนที่คอสองเฉลียงพระระเบียงมหาเจดีย์ ปลายกระบวนอยู่ที่ผนังและคอสองศาลาคู่หน้าพระมหาเจดีย์ ภาพที่ระเบียงลบหมด จารึกก็สูญหายไปหมดแล้ว ส่วนที่ศาลาคู่ยังหลงเหลือทั้งจิตรกรรมและจารึกแต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าครบถ้วนหรือไม่ และไม่ทราบแน่ชัดว่าติดอยู่ตรงที่เดิมหรือคลาดเคลื่อนไปเมื่อมีการบูรณะวัดพระเชตุพนฯ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงองค์ประกอบของริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางสถลมารค |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเขียนภาพริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค โดยมีการจารึกประกอบไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2551) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |