อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแท่งสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, เรื่อง-การเมืองการปกครอง-พิจารณาและตัดสินคดี, เรื่อง-การเมืองการปกครอง-ลงโทษ, เรื่อง-การปกครองข้าทาส,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2567 12:38:47 )
ชื่อจารึก |
จารึกทวลระลมทิม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Tûol Rolom Tim (K. 233), K. 233, ปจ. 6, 99/279/2550 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 16 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 38 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด (ชำรุด อ่านไม่ได้) |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อละเอียด (Fine-grained sandstone) |
ลักษณะวัตถุ |
แท่งเหลี่ยมชำรุด |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 34.5 ซม. สูง 68 ซม. หนา 27.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 6” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ทวลระลมทิม ตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอตาพระยา) จังหวัดสระแก้ว |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 94-97. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกหลักนี้มีสภาพชำรุดมาก ข้อความในด้านที่ 2 อักษรลบเลือนอ่านไม่ได้เลย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการตัดสินคดีความว่าด้วยเรื่องทาส คือ เจ้าของทาสยกทาสให้ผู้อื่น แล้วปรากฏว่าทาสนั้นหนีไป แทนที่เจ้าของทาสจะแจ้งแก่ทางราชการ กลับปิดบังไว้ แล้วส่งคนอื่นไปรับใช้แทนทาสที่หนีไปนั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่เป็นเจ้าของทาสนั้นจะต้องถูกลงโทษ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 จารึกไว้ว่า “สฺตาจฺ เทา วฺรหฺมโลก” ซึ่งข้อความตรงนี้น่าจะเป็นการบอกถึง พระนามที่ได้รับหลังสวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง คือ พระบาทพรหมโลก ซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 ที่ทรงได้รับหลังจากเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1487 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุหลังจาก พ.ศ. 1487 คือมีอายุประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-02, ไฟล์; PJ_003) |