อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-หุงข้าวทิพย์, เรื่อง-ประวัติและตำนาน, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-รามัญหุงข้าวบูชาเทวดา,
โพสต์เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2552 10:11:48 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 21:03:33 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์ แผ่นที่ 2 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
เฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 287. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์ จำนวน 6 แผ่น บริเวณเฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ซึ่งเดิมมีจิตรกรรมที่สอดคล้องกับข้อความในจารึก แต่ปัจจุบันได้ลบเลือนไป |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงนิทานเรื่อง รามัญหุงข้าวทิพย์ ตั้งแต่ตอนมหิมุตลีพราหมณ์มีภรรยาใหม่จนถึงตอนธิดาทั้ง 2 เข้าใจผิดว่าบิดาเสียชีวิต กล่าวคือ เมื่อมารดาของนางทั้ง 2 เสียชีวิต พราหมณ์ผู้พ่อจึงไปสู่ขอหญิงมาเป็นภรรยา ภรรยาใหม่เกรงว่าทรัพย์จะตกเป็นของธิดา จึงให้พราหมณ์หลอกไปทิ้งไว้ในป่า โดยนำผ้าชุบขมิ้นกับปูนห้อยที่ต้นไม้ ธิดาทั้ง 2 ตื่นขึ้นมาเห็นผ้าดังกล่าวจึงคิดว่าบิดาถูกเสือกิน พากันร้องไห้ด้วยความเสียใจ |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏใน จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง มอญกวนข้าวทิพย์ (รามัญหุงข้าวทิพย์) โดยมีการสร้างจารึกประกอบไว้ใต้ภาพทุกแห่ง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2551) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |