โพสต์เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2551 08:53:44 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 13:46:37 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพนฯ แผ่นที่ 40 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกเรื่องรามเกียรติ์ แผ่นที่ 40 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 234. |
ประวัติ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งแจกในงานพระศพพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาเมื่อ พ.ศ. 2472 ในเชิงอรรถซึ่งเป็นคำอธิบายที่เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ระบุว่า จารึกที่ผนังศาลามณฑปทิศตะวันออกและทิศใต้ได้สูญหายไปหมดแล้ว ส่วนทางทิศตะวันตกและทิศเหนือยังหลงเหลืออยู่ แต่ก็ไม่ครบสมบูรณ์ ส่วนเนื้อหาของจารึกทรงกล่าวว่า “ตรวจสอบได้ความว่าเหล่านี้ย่อความจากหนังสือนารายณ์สิบปาง” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2424 นิยะดา เหล่าสุนทร และ Waledeman C. Sailor ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฝาผนัง ได้ร่วมกันศึกษาโดยถ่ายภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ และคัดลอกจารึกตามอักขรวิธีที่ปรากฏ พิมพ์เผยแพร่ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2525) ชื่อบทความ “จิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์วัดพระเชตุพนฯ ที่ถูกลืม” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงเรื่องรามเกียรติ์ ตั้งแต่ตอนอสูรนามว่า ประทุตทันตุ ขึ้นไปไล่เทวบุตรและเทพธิดาในดาวดึงส์พิภพ จนถึงตอนท้าวธตรฐฆ่าอสูรตายแล้วให้สัตย์แก่นางไกยเกษี พระอินทร์จึงให้พระมาตุลีนำรถทิพย์ไปส่งท้าวธตรฐจนถึงเมือง |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏใน จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ที่ผนังศาลาล้อมพระมณฑปทั้ง 4 หลัง โดยมีศิลาจารึกประกอบไว้ใต้ภาพ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2552) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |