โพสต์เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2551 13:20:04 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 10:06:35 )
ชื่อจารึก |
จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษร แผ่นที่ 25 (กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 19 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อนสีดำ |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
สูง 65 ซม. กว้าง 24 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
เสาพระระเบียงพระอุโบสถชั้นในของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 520. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษรจำนวน 50 แผ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดให้แต่งขึ้น เนื่องจากมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่ศึกษาของผู้สนใจในคำประพันธ์ดังกล่าว ดังปรากฏใน “จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษรแผ่นที่ 50 (เพลงยาวกลอนสุภาพ เรื่องพระราชปรารภ)” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ ความตอนหนึ่งว่า “…ซึ่งทรงพระราชอุทิศประดิษฐ์ประดับ ประสงค์สำหรับผู้รู้กลอนอักษรสยาม จะได้เห็นเช่นภิปรายแยบคายความ พยายามลอกเขียนร่ำเรียนรัก…” จารึกดังกล่าวติดอยู่บนเสาพระระเบียงล้อมรอบพระอุโบสถชั้นใน ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ โดยเริ่มแผ่นที่ 1 บริเวณทิศเหนือของพระอุโบสถเรื่อยมาทางทิศตะวันออกและจบลงในแผ่นที่ 50 ทางทิศใต้ จารึกแต่ละแผ่นแสดงถึงกลบทหรือกลอักษรแผ่นละ 1 ประเภทโดยระบุชื่อ, แผนผังและบทประพันธ์ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
แสดงแผนผังของกลบท “นาคราชแผลงฤทธิ์” และตัวอย่างกลบทดังกล่าว ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ “จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษรแผ่นที่ 50 (เพลงยาวกลอนสุภาพ เรื่องพระราชปรารภ)” ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อ “ประวัติ” นอกจากนี้ยังปรากฏในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ความตอนหนึ่งว่า “กลบทบัญญาศยก เยี่ยงสร้าง” ซึ่งหมายถึงเพลงยาวกลบทและกลอักษรจำนวน 50 ประเภทบริเวณเสาพระระเบียงพระอุโบสถนั่นเอง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550 |