โพสต์เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2551 08:37:26 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2566 08:58:52 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องพาหิรนิทาน แผ่นที่ 24 (โชติปาลชาดก) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ศาลาคู่หน้าพระมหาเจดีย์ด้านใต้ (ศาลาแม่ซื้อ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 140. |
ประวัติ |
จารึกเรื่องพาหิรนิทานอยู่ภายในศาลาคู่หน้าพระมหาเจดีย์ด้านเหนือ (ศาลาหมอนวด) และด้านใต้ (ศาลาแม่ซื้อ) แห่งละ 12 แผ่น รวม 24 แผ่น แต่ละแผ่นจารึกเรื่องราวชาดก 1 เรื่อง โดยอยู่ภายใต้จิตรกรรมที่สอดคล้องกัน จากหลักฐานใน “จารึกโคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์” โดยกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ที่ติดอยู่ภายในศาลาคู่ ระบุว่ามีการปฏิสังขรณ์ศาลาดังกล่าวและเขียนภาพจิตรกรรมต่างๆ โดยมีการสร้างจารึกกำกับไว้ โดยมีจมื่นไชยาภรณปลัดกรมตำรวจใหญ่ขวากำกับการซ่อม ส่วนช่างเขียนคือพระสงฆ์วัดสามพญา วัดระฆัง วัดปทุมคงคา สำหรับศาลาหมอนวดกำกับการเขียนโดยนายด้วงสมุห์จั่น ส่วนศาลาแม่ซื้อมีช่างเขียนคือ พระสงฆ์วัดกลาง วัดเครือวัลย์ วัดหงส์ โดยมีนายด้วงสมุห์เพิกกำกับการเขียน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง “โชติปาลชาดก” ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยชาติเป็นโชติปาลมาณพ มีสหายเป็นช่างปั้นหม้อนามว่า ฆฏิการ ซึ่งเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา ครั้งหนึ่งได้ชักชวนโชติปาลมาณพไปฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใสออกบรรพชาเป็นภิกษุ พระพุทธกัสสปะทรงทำนายว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดมในภัทรกัลป์ |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “ประวัติ”) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550 |