จารึกปราสาทหินพิมาย 1

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:02:47 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

P’ĭmay (K. 1000), นม. 26, K.1000, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/3/2560

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 15

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

สี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 57 ซม. สูง 40 ซม. หนา 12 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 26”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “P’ĭmay (K. 1000)”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพิมาย 1”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/3/2560"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 68-70.

ประวัติ

จารึกนี้พบในบริเวณปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ไม่มีหลักฐานว่าพบ ณ ส่วนใดของปราสาท

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ มีการกล่าวถึงฤษีนามว่า มุนีราทัศมะ ว่าเป็นผู้สร้างอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งข้อความในส่วนนี้ลบเลือนไป

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบของอักษรขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทหินพิมาย 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 68-70.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-04, ไฟล์; NM_022)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ พฤษภาคม 2565