จารึกเรื่องธุดงค์ 13 แผ่นที่ 5 (เอกาสนิกังคธุดงค์)

จารึก

จารึกเรื่องธุดงค์ 13 แผ่นที่ 5 (เอกาสนิกังคธุดงค์)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2551 10:20:52 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 21:54:09 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องธุดงค์ 13 แผ่นที่ 5 (เอกาสนิกังคธุดงค์)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 9 ซม. ยาว 35.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (2544) เรียกว่า “เรื่องธุดงค์ 13 (จารึกสิลาติดไว้ตามผนัง) แผ่นที่ 5”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังวิหารทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 132.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องธุดงค์ 13 จำนวน 13 แผ่น ที่ผนังวิหารทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ซึ่งเดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีเรื่องราวสอดคล้องกับข้อความในจารึก แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว ธุดงค์ คือข้อปฏิบัติประเภทวัตร เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ มี 13 ข้อ แบ่งเป็น 4 หมวด หมวดที่ 1 เกี่ยวกับจีวร ได้แก่ ปังสุกูลิกังคะ (ใช้แต่ผ้าบังสุกุล), เตจีวริกังคะ (ใช้แต่ผ้าไตรจีวร) หมวดที่ 2 เกี่ยวกับบิณฑบาต ได้แก่ ปิณฑปาตปาติกังคะ (เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ), สปทานจาริกังคะ (บิณฑบาตตามลำดับบ้าน), เอกาสนิกังคะ (ฉันมื้อเดียว), ปัตติปิณฑิกังคะ (ฉันเฉพาะในบาตร), ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (ลงมือฉันแล้วไม่รับเพิ่ม) หมวดที่ 3 เกี่ยวกับเสนาสนะ ได้แก่ อารัญญิกังคะ (อยู่ป่า), รุกขมูลิกังคะ (อยู่โคนไม้), อัพโภกาสิกังคะ (อยู่กลางแจ้ง), โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า), ยถาสันถติกังคะ (อยู่ในที่แล้วแต่จัดให้) หมวดที่ 4 เกี่ยวกับความเพียร ได้แก่ เนสัชชิกังคะ (นั่งอย่างเดียว ไม่นอน)

เนื้อหาโดยสังเขป

อธิบายความหมายของ เอกาสนิกังคธุดงค์ คือ ฉันจังหันอยู่กับที่ ไม่ลุกจากที่จนกว่าจะอิ่ม โดยกล่าวถึง พระมหาเถรสององค์พี่น้อง พระมหาเถรผู้พี่ถือธุดงค์ข้อฉันหนเดียวในหนึ่งวัน เมื่อลุกจากที่นั่งแล้ว ใครจะถวายของอีกก็จะไม่รับในวันนั้น วันหนึ่งชาวบ้านเอาอ้อยมาถวายพระมหาเถรผู้น้อง พระมหาเถรผู้น้องจึงเอาไปถวายผู้พี่ บังเอิญเวลานั้นพระมหาเถรผู้พี่ฉันเสร็จแล้ว จึงปฏิเสธไม่รับ พระเถรผู้น้องจึงถามว่า ท่านถือธุดงค์ข้อเอกาสนิกังคะหรือ พระมหาเถรผู้พี่ประสงค์จะปกปิดธุดงค์ของตัว จึงไม่บอก แล้วรับอ้อย แล้วก็อธิษฐานเอกาสนิกังคธุดงค์ใหม่

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง ธุดงค์ 13 ที่วิหารทิศเหนือโดยมีการสร้างจารึกบอกเรื่องประกอบไว้ ทั้งยังระบุว่า ผู้แต่งจารึกดังกล่าวคือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2551, จาก :
“เรื่องธุดงค์ 13 (จารึกสิลาติดไว้ตามผนัง),” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 131-133.