จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ 12-13 (พระกีสาโคตมีและพระสิงคาลมาตา)

จารึก

จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ 12-13 (พระกีสาโคตมีและพระสิงคาลมาตา)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2551 11:12:26 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2566 23:17:34 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ แผ่นที่ 12-13 (พระกีสาโคตมีและพระสิงคาลมาตา)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กิสาโคตมีเถรีวัตถุ, สิงคาละมาตาเถรีวัตถุ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 15 ซม. ยาว 33.5 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

เชิงผนังระหว่างหน้าต่างทางด้านทิศใต้ของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 111.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 113.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะจำนวน 12 แผ่น ซึ่งกล่าวถึงประวัติสาวิกาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเอตทัคคะในด้านต่างๆ 13 องค์ ในบริเวณเชิงผนังระหว่างหน้าต่างทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ โดยแผ่นที่ 1 เริ่มจากทางด้านทิศตะวันออกของวิหาร จารึกดังกล่าวอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับกับข้อความในจารึกแต่ละแผ่น อย่างไรก็ตาม จารึกที่อยู่ภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น มีหลายแผ่นที่เนื้อหาในจารึกกับภาพไม่ตรงกัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วนำจารึกไปติดไว้ผิดจากตำแหน่งเดิม

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติของสาวิกานามว่า “กีสาโคตมี” ซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านครองจีวรเศร้าหมอง (เก่า) และ “สิงคาลมาตา” สาวิกาเอตทัคคะด้านยินดีในศรัทธา

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งโปรดให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น รวมถึงวิหารซึ่งมีพระองค์เจ้าลดาวัลย์ทรงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์ในกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2550) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
3) “จารึกเรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ : จารึกติดไว้ที่เชิงผนังหว่างหน้าต่างวิหารพระนอน,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 109-113.
4) “เรื่องพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ : จารึกติดไว้ที่เชิงผนังหว่างหน้าต่างวิหารพระนอน,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 107-111.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550