จารึกเรื่องมหาวงษ์ แผ่นที่ 32 (พระเจ้าทุฏฐคามินีตีเมืองมเหลนครได้แล้วยกทัพไปประชิดเมืองอนุราธปุระ)

จารึก

จารึกเรื่องมหาวงษ์ แผ่นที่ 32 (พระเจ้าทุฏฐคามินีตีเมืองมเหลนครได้แล้วยกทัพไปประชิดเมืองอนุราธปุระ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2551 10:01:06 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2566 19:26:40 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องมหาวงษ์ แผ่นที่ 32 (พระเจ้าทุฏฐคามินีตีเมืองมเหลนครได้แล้วยกทัพไปประชิดเมืองอนุราธปุระ)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

มหาวงษ์ วิหารพระไสยาสน์ (จารึกติดตามผนังบนหน้าต่างจารึกยังอยู่ครบ)

อักษรที่มีในจารึก

ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านบนหน้าต่างทางทิศตะวันตกของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 216.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องมหาวงษ์จำนวน 32 แผ่น ในบริเวณผนังด้านบนหน้าต่างของวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ โดยแผ่นที่ 1 เริ่มจากด้านทิศตะวันออกของวิหารแล้วเวียนไปทางขวาโดยรอบ จารึกดังกล่าวอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีเรื่องราวสอดคล้องกับเนื้อหาในจารึก คือ เรื่องมหาวงษ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารลังกา แต่งขึ้นด้วยภาษาบาลี ราวพุทธศตวรรษที่ 10 โดยพระมหานามเถระชาวลังกา ซึ่งระบุว่าพงศาวดารดังกล่าวมีการแต่งเป็นภาษาสิงหลหลายเรื่อง จึงนำมาเรียบเรียงเข้ากับตำนานพุทธศาสนาในลังกา เรื่องมหาวงษ์นี้มีการแต่งต่อกันมาหลายครั้ง ในส่วนที่แต่งโดยพระมหานาม เริ่มต้นเรื่องราวตั้งแต่สมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาลังกาจนถึงรัชกาลพระเจ้ามหาเสน ต่อจากนั้นมีการแต่งเพิ่มเรื่อยมาจนจบเรื่องในราวพุทธศตวรรษที่ 24 ส่วนมหาวงษ์ฉบับภาษาไทยถูกแปลจากคัมภีร์ใบลานภาษาบาลี โดยพระราชดำริของรัชกาลที่ 1 สำหรับเนื้อหาในจารึกมหาวงษ์ที่วัดพระเชตุพนฯ เริ่มต้นเรื่องจากตอนกำเนิดพระเจ้าสีหะพาหุ ซึ่งเกิดจากนางสุปราชบุตรีกับราชสีห์ จนถึงตอนพระเจ้าทุฏฐคามินีรบชนะทมิฬ

เนื้อหาโดยสังเขป

เล่าเรื่องมหาวงษ์ซึ่งเป็นพงศาวดารลังกา ตอนพระเจ้าทุฏฐคามินีตีเมืองมเหลนครได้แล้วยกทัพไปประชิดเมืองอนุราธปุระ พระเจ้าเอฬาระราชยกพลออกมาทำสงคราม พระราชมารดาทำอุบายให้จัดทัพ 31 กอง ผูกหุ่นที่แต่งกายเหมือนกษัตริย์และแม่ทัพ ฝ่ายพระเจ้าเอฬารราชฟันหุ่นขาดทั้งหมด กษัตริย์ทั้งสองเผชิญหน้ากัน พระเจ้าทุฏฐคามินีฆ่าพระเจ้าเอฬารราชสวรรคต จึงได้ครองอนุราธปุระและเมืองทมิฬ

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งโปรดให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น รวมถึงวิหารซึ่งมีพระองค์เจ้าลดาวัลย์ทรงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์ในกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
“มหาวงษ์ วิหารพระไสยาสน์ (จารึกติดตามผนังบนหน้าต่างจารึกยังอยู่ครบ),” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 205-216.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550