จารึกโบราณสถานหมายเลข 0996

จารึก

จารึกโบราณสถานหมายเลข 0996

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 10:13:49 )

ชื่อจารึก

จารึกโบราณสถานหมายเลข 0996

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12-14

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด (เป็นชิ้นส่วนที่ชำรุด)

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

อาจเป็นฐานประติมากรรม มีลักษณะเป็นแผ่นหิน มีรูกลวงตรงกลาง

ขนาดวัตถุ

ทรงกลมชำรุด กว้าง 21 ซม. ยาว 50 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ จารึกที่เมืองศรีเทพ และหนังสือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กำหนดเป็น “จารึกโบราณสถานหมายเลข 0996”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2534

สถานที่พบ

โบราณสถานหมายเลข 0996 เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ปัจจุบันอยู่ที่

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534), 127-132.
2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 137.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ พบขณะทำการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 0996 ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งโบราณสถานแห่งนี้ อยู่ติดกับปรางค์สองพี่น้อง ทางด้านทิศตะวันตก หลักฐานจากการขุดแต่งบ่งชี้ว่า เป็นโบราณสถานทางศาสนาพราหมณ์ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 แต่อักษรและข้อความในจารึกเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี และตัวอักษรก็มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ซึ่งเป็นคนละยุคกับตัวโบราณสถาน เป็นไปได้ว่าศิลาจารึกหลักนี้ ซึ่งชำรุดและมีขนาดเล็กอาจถูกนำมาจากบริเวณอื่นในเมืองศรีเทพในภายหลัง หรือบริเวณนี้อาจเคยเป็นโบราณสถานทางพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 12-14 มาก่อน แล้วภายหลังชำรุดทรุดโทรม ภายหลังราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ศาสนาพราหมณ์ได้เจริญขึ้นในเมืองศรีเทพ จึงได้มีการบูรณะให้โบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานของฮินดูไป อย่างไรก็ตาม ในปรางค์สองพี่น้อง ได้พบแผ่นหินรูปครึ่งวงกลมสลักลายกลีบบัว ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโบราณวัตถุสมัยทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 12 และถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของโบราณสถานในพุทธศตวรรษที่ 16-17

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาของจารึกหลักนี้เกี่ยวกับหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาเรื่อง โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ ข้อที่ 1-3 ว่าด้วยเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม และ ปฏิโลม

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลจาก : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี(2547); นวพรรณ ภัทรมูล, แก้ไขเพิ่มเติม (2557), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, “จารึกเมืองศรีเทพ,” ใน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550), 129-143.
2) มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, “โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ,” ใน พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 และ อรรถกถา, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2536),  1-6.
3) “วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค 4,” ใน สฺยามรฏฺสฺส เตปิฏกํ (2525), 3.
4) อัญชนา จิตสุทธิญาณ, “จารึกโบราณสถานหมายเลข 0996,” ใน จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2534), 127-132.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : จารึกที่เมืองศรีเทพ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534)