ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 5, วัตถุ-จารึกบนปูน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-ปกิณกคาถา, บุคคล-ทัด, บุคคล-พระยานนทบุรี, บุคคล-พระยานนทบุรี-ทัด,
โพสต์เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2550 10:38:21 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ห้องที่ ๑๑๗ (ปกิณกคาถา) |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช - |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน ๑ ด้าน มี ๑๔ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ปูน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรมีลักษณะคล้ายเป็นการแกะจากแม่พิมพ์ |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๑๗๕ ซม. ยาว ๑๙๕ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ จารึกที่องค์องค์พระปฐมเจดีย์ กำหนดเป็น "จารึกอักษรขอมย่อที่ฝาผนังพระระเบียงคดทั้ง ๔ ด้านที่องค์พระปฐมเจดีย์ ห้องที่ ๑๑๗" |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพ : จุฑารัตน์การพิมพ์, ๒๕๒๘), ๒๓๒ - ๒๓๓. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกจำนวน ๑๒๐ แผ่น บนผนังระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ โดยเริ่มห้องที่ ๑ จากวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกไปทางวิหารด้านทิศใต้ ๓๐ ห้อง จากวิหารใต้ไปทางวิหารตะวันตก ๓๐ ห้อง จากวิหารตะวันตกถึงวิหารเหนือ (วิหารพระร่วง) ๓๐ ห้อง จากวิหารเหนือถึงวิหารตะวันออก ๓๐ ห้อง รวม ๑๒๐ ห้อง จารึกห้องที่ ๑ เป็นคาถาสรรเสริญพระพุทธคุณ และเหตุผลที่จารึกคาถาธรรม รวมถึงคาถาธรรมบทแรก ห้องที่ ๒ - ๖๖ เป็นคาถาธรรมบท ห้องที่ ๖๗ - ๙๖ เป็นอัฐวรรคคาถา ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ห้องที่ ๙๗ - ๑๑๕ เป็นข้อความจากพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ปารายนวรรค ห้องที่ ๑๑๖ - ๑๒๐ เป็น ปกิณกคาถา จากพระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ - ๑๕ และ ๒๐ ข้อมูลและคำอ่าน - คำแปลของจารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ทั้งหมด มีการตีพิมพ์ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีผู้อ่าน ๒ ท่าน ได้แก่ สิริ เพ็ชรไชย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรมการศาสนา อ่านจารึกห้องที่ ๑ - ๖๖ และ เจษฎ์ ปรีชานนท์ อ่านจารึกห้องที่ ๖๗ - ๑๒๐ ส่วนคำแปลนั้นนำมาจากพระไตรปิฎกของกรมการศาสนาและหนังสือของมหามกุฏราชวิทยาลัย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ปกิณกคาถาจากพระไตรปิฎก |
ผู้สร้าง |
พระยานนทบุรี (ทัด) |
การกำหนดอายุ |
เจษฎ์ ปรีชานนท์ (พ.ศ. ๒๕๒๘) กำหนดอายุจารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จากข้อความในหนังสือเรื่อง พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ โดย ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ซึ่งระบุว่า "ได้ก่อวิหารไว้สี่ทิศ แล้วชักระเบียงกลมล้อมรอบถึงกันทั้งสี่ด้าน จดจารึกกถาธรรมยกไว้ทุกห้อง" ดังนั้น จึงมีการสันนิษฐานว่า คงเริ่มจารึกอย่างช้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมาสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๕ สมัยรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏหลักฐานที่พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม มีใบบอกไปยังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า การซ่อมตัวอักษรที่พระปฐมเจดีย์ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ขอให้ท่านผู้รู้ไปตรวจสอบก่อน เพราะเกรงว่าจะผิดเพี้ยนกับแบบเดิมไปบ้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงอาราธนาพระสาสนโสภณ (อหิงฺสโก อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ ไปตรวจสอบ และได้พบว่ามีทั้งที่ชำรุด และที่เกิดจากความผิดพลาดของช่างถึง ๙๕๘ แห่ง พระสาสนโสภณได้เขียนข้อความที่ถูกต้องลงในกระดาษ ทากาวติดไว้เพื่อให้ช่างแก้ไขตามนั้น |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก: |