อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 19, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 19-20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินดินดาน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดศรีชุม สุโขทัย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-วรรณกรรม, เรื่อง-วรรณกรรม-ชาดก,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2550 11:27:54 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 15:50:46 )
ชื่อจารึก |
จารึกภาพชาดกวัดศรีชุม แผ่นที่ 63 (มหาสีลวชาดก) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
มหาสีลวชาดก (แผ่นที่ 63), ศิลาจารึกภาพชาดกวัดศรีชุม (มหาสีลวชาดก), สท. 32 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 19-20 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินดินดาน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยม |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 32” |
ปีที่พบจารึก |
พ.ศ. 2515 |
สถานที่พบ |
เพดานอุโมงค์วัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
เพดานอุโมงค์วัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 5 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2515), 83-89. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกภาพชาดกวัดศรีชุมเป็นภาพจำหลักลายเส้นบนแผ่นศิลาเล่าเรื่องในชาดกต่าง ๆ แต่เนื่องจากศิลาแต่ละแผ่นมีขนาดไม่เท่ากัน บางแผ่นจึงจำหลักภาพได้เพียงเรื่องเดียว แต่บางแผ่นจำหลักได้ 4-5 เรื่องก็มี ภาพจำหลักเล่าเรื่องชาดกเหล่านี้ประดับอยู่ที่เพดานภายในอุโมงค์วัดศรีชุม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สภาพทั่วไปของแผ่นศิลาชำรุดแตกหัก ลายเส้นภาพและลายเส้นรูปอักษรลบเลือนเป็นส่วนใหญ่ ศิลาบางแผ่นสูญหายไป ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียง 40 แผ่นเท่านั้น (จารึกสมัยสุโขทัย, 2526) และในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 5 มี 52 แผ่น (ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 5, 2515) |
เนื้อหาโดยสังเขป |
จารึกภาพชาดกวัดศรีชุม (มหาสีลวชาดก) นั้น ซีกซ้าย เป็นรูปมนุษย์นอน ศีรษะหนุนหมอน และข้างหลังมีบุรุษนั่ง มือซ้ายถือพระขรรค์ ซีกขวา ลวดลายลบเลือนมาก มีอักษรจารึกที่ตอนล่าง 4 บรรทัด เรื่องราวมีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระยามหาสีลวะ ทรงมั่นอยู่ในขันตี มีเพียร กลับได้คืนราชสมบัติที่ถูกแย่งชิงไป |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
1) จาก บทความเรื่อง การกำหนดอายุจารึกชาดกวัดศรีชุม ของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร สรุปได้ว่า แผ่นภาพชาดกนี้สร้างขึ้นเพื่อติดตั้งไว้ในอุโมงค์วัดศรีชุมมาแต่แรก หรือจะได้ขนย้ายมาจากที่อื่น เช่น วัดมหาธาตุสุโขทัยก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ส่วนในเรื่องตัวอักษรนั้น มีบางท่านสันนิษฐานว่า เป็นอักษรไทยที่เก่ากว่าตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1826 (จารึกหลักที่ 1) แต่ ศ.ดร.ประเสริฐ กำหนดอายุตัวอักษรในจารึกชาดกวัดศรีชุมว่าจารึกขึ้นประมาณ พ.ศ. 1935 โดยใช้รูปลักษณะตัวอักษรและอักขรวิธีเป็นตัวกำหนดดังนี้ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 5 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2515) |