จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2550 16:47:31 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 16:08:17 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 32, จารึกภาษามคธบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกษศรี จ. เชียงราย, หลักที่ 80 จารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกศศรี จังหวัดเชียงราย, พย. 32 จารึกฐานพระพุทธรูปสำริด วัดเกษศรี

อักษรที่มีในจารึก

สิงหล

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-22

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ

ขนาดวัตถุ

กว้าง 7.8 ซม. สูง 78 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 32”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 (กุมภาพันธ์ 2498) กำหนดเป็น “จารึกภาษามคธบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกษศรี จ. เชียงราย”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 80 จารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกศศรี จังหวัดเชียงราย”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 32 จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี พุทธศตวรรษที่ 21-22”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 32 จารึกฐานพระพุทธรูปสำริด วัดเกษศรี”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเกษศรี บ้านร้อง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอเมือง) จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเกษศรี บ้านร้อง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอเมือง) จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 (กุมภาพันธ์ 2498) : 81-84.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 240-242.
3) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 169-171.
4) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 415-419.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกเป็นคาถา ว่าด้วย จตุราริยสัจ อันประกอบด้วย อริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้จารึกหลักนี้มีอายุเป็น พุทธศตวรรษที่ 21-22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกภาษามคธบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกษศรี จ. เชียงราย,” ศิลปากร 8, 9 (กุมภาพันธ์ 2498) : 81-84.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 80 จารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ที่วัดเกศศรี จังหวัดเชียงราย ว่าด้วยจตุราริยสัจ เขียนด้วยอักษรสิงหล ภาษามคธ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 240-242.
3) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 32 จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดวัดเกษศรี พุทธศตวรรษที่ 21-22,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 169-171.
4) สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี, “พย. 32 จารึกฐานพระพุทธรูปสำริด วัดเกษศรี,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 415-419.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 1 ธันวาคม 2566