จารึกศีขรภูมิ (จารึกปราสาทหินบ้านระแงง)

จารึก

จารึกศีขรภูมิ (จารึกปราสาทหินบ้านระแงง)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 16:41:24 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2566 15:27:35 )

ชื่อจารึก

จารึกศีขรภูมิ (จารึกปราสาทหินบ้านระแงง)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สร. 2

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

แผ่นหิน

ลักษณะวัตถุ

เสากรอบประตู

ขนาดวัตถุ

กว้าง 45 ซม. สูง 135 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สร. 2”
2) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินบ้านระแงง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ประตูทางเข้าปราสาทองค์เล็กทางด้านทิศตะวันตกของปราสาทบ้านระแงง ตำบลระแงง อำเภอสีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ประตูทางเข้าปราสาทองค์เล็กทางด้านทิศตะวันตกของปราสาทบ้านระแงง ตำบลระแงง อำเภอสีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 413-414.

ประวัติ

ไม่มีการเคลื่อนย้าย มีรายชื่ออยู่ในบัญชีสำรวจของกรมศิลปากร ที่พิมพ์รวมอยู่ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 พ.ศ. 2467

เนื้อหาโดยสังเขป

กลุ่มพระเถระผู้ใหญ่และท้าวพระยาในท้องถิ่น ได้บูรณะปราสาทหินบ้านระแงง โดยเข้าใจว่าเป็นพระมหาธาตุของศาสนาพุทธ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกนี้ไม่ระบุศักราช อย่างไรก็ตาม อาจารย์ธวัช ปุณโณทก ได้สันนิษฐานว่า จารึกหลักนี้น่าจะมีอายุราวสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
ธวัช ปุณโณทก, “จารึกปราสาทหินบ้านระแงง,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 413-414.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)