จารึกฐานพระพุทธรูปทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย (ธ. 2443/93)

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย (ธ. 2443/93)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566 14:04:57 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย (ธ. 2443/93)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ธ. 2443/93 จารึกฐานพระพุทธรูปบุทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2191-2244

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

เส้นรอบฐานยาว 21.6 ซม. หน้าตักกว้าง 6.8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม และ ศิลาจารึกอีสาน กำหนดเป็น “ธ. 2443/93 จารึกฐานพระพุทธรูปบุทองคำ ฐานบุเงิน ปางมารวิชัย”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2518-2522

สถานที่พบ

กรุหมายเลข 20 วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 20 ฉบับที่ 1-2 (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2519) : 134-145.
2) จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการดำเนินงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุพนม, 2522), 186.
3) ศิลาจารึกอีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 336.

ประวัติ

พระธาตุพนมล่มเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม 2518 (เวลา 19.38 น.) ในการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2518-2522 ได้มีการขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปประมาณ 1,015 องค์ และแผ่นจารึกอื่นๆ 46 ชิ้น จารึกเหล่านี้บางส่วน นายวัชรินทร์ (ปฏิพัทธ์) พุ่มพงษ์แพทย์ ร่วมกับพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กันโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ่าน และอธิบายศัพท์ นำมาพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม (กรมศิลปากร, โรงพิมพ์พิฆเณศ 2522) และ “ข้อมูลใหม่ที่ได้จากจารึกในพระธาตุพนม” ใน วารสารศิลปากร ฉบับที่ 1 ปีที่ 20 พ.ศ. 2519

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกระบุนามของผู้สร้างพระพุทธรูป คือ เจ้าสุด ตามด้วยรายชื่อข้าโอกาสที่ถวายแด่พระพุทธรูป

ผู้สร้าง

เจ้าสุด

การกำหนดอายุ

ข้อความในจารึกนี้มิได้ระบุศักราชไว้ แต่กรมศิลปากรได้กำหนดอายุของจารึกนี้ให้อยู่ในช่วง พ.ศ. 2191-2244 โดยเทียบเคียงกับศักราชที่ปรากฏในจารึกฐานพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ที่พบในองค์พระธาตุพร้อมกัน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) กรมศิลปากร, จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2518-2522 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2522), 186.
2) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกกรุพระธาตุพนม,” ใน ศิลาจารึกอีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 333-340.
3) วัชรินทร์ พุ่มพงษ์แพทย์, “ข้อมูลใหม่ที่ได้จากจารึกในพระธาตุพนม,” ศิลปากร 20, 1-2 (พฤษภาคม-กรกฏาคม 2519) : 134-145.