จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน

จารึก

จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 15:30:34 )

ชื่อจารึก

จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 13, ลพ./13, พช. 23, 348, หลักที่ 84 ศิลาจารึก วัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน, ลพ. 13 จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-22

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 17 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 14 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม ชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 128 ซม. สูง 40 ซม. หนา 40 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 13”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./13, พช. 23, 348”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 84 ศิลาจารึก วัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลพ. 13 จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดแสนข้าวห่อ (ร้าง) อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 252-253.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 41-42.
3) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 291-292.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงคำ “พระสัตย์ปฏิญาณ” ขอพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงรับสั่ง และทรงรับสั่งจากพระเชษฐาเกี่ยวกับการเสวยราชสมบัติและการรักใคร่สามัคคี ตามข้อความจารึกในตอนท้ายที่ว่า “หงศวดีสัตยาธิษฐาน” และ “วรสัตยาธิษฐาน”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ลักษณะรูปอักษรและอักขรวิธีที่ใช้ในจารึก ลพ. 13 โดยเฉพาะลักษณะตัว “พยัญชนะ” ควรจะมีระยะอายุกาลจารึกในพุทธศตวรรษที่ 21-22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลพ. 13 จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 291-292.
3) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 41-42.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 84 ศิลาจารึก วัดพระธาตุ มุมตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 252-253.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)