จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1912, อายุ-จารึก พ.ศ. 1949, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, เรื่อง-การปกครองสงฆ์, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บูชาพระธาตุ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 1, บุคคล-พระมหาสมณเถระ, บุคคล-พระมหาธรรมราชาที่ 1, บุคคล-พระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคนธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสามีเจ้า,

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 2)

จารึก

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 2)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2568 10:15:42 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 2)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 2) จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 2 พุทธศักราช 1949, สท. 7

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1949

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 53 ซม. สูง 62 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 7”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 2) จังหวัดสุโขทัย”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 2 พุทธศักราช 1949”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/13/2560"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

มีอยู่มาแต่เดิมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 119-123.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 257-259.

ประวัติ

เดิมไม่ปรากฏว่าประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด และใครเป็นผู้พบ (อ่านรายละเอียดใน จารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 1)

เนื้อหาโดยสังเขป

พระมหาธรรมราชาผู้ปู่ (พระมหาธรรมราชาที่ 1) ให้อาราธนาพระมหาสมณเถระ มาที่วัดป่าแดง และได้กล่าวถึงการบูชาพระมหาธาตุ การเข้าอยู่จำพรรษาในวัดป่าแดง การไปเมืองเหนือของพระมหาสมณเถระ เมื่อ จ.ศ. 731 (พ.ศ. 1912)

ผู้สร้าง

พระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคนธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสามีเจ้า พระสังฆปรินายก

การกำหนดอายุ

ในแผ่นที่ 3 บรรทัดที่ 24 บอกศักราช 768 (จุลศักราช) ตรงกับ พ.ศ. 1949

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกวัดป่าแดง พุทธศักราช 1949,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 257-259.
2) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง จังหวัดสุโขทัย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโชทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, สำนักนายกรัฐมนตรี, [2521]), 119-123.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-17, ไฟล์; St_0700_c)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566