จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 2032/2518

จารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 2032/2518

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 12:50:41 )

ชื่อจารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 2032/2518

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 11-12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

ตรา (sealings) สีน้ำตาล รูปทรงค่อนข้างกลม

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “2032/2518”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี U Thong Ancient City, U Thong Locality, Mueang District, Suphan Buri Province 14.391152600107537 99.89612635308916 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี U Thong National Museum, U Thong Locality, U Thong District, Suphan Buri Province 14.372863493054924 99.89177959543402

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 134.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่บนตราดินเผาซึ่งมีลักษณะเป็นรอยนูนต่ำขึ้นมาจากพื้นผิว ด้านบนของคำจารึกมีรูปปลา จารึกนี้อ่านโดย ผศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม และ อาจารย์ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย อย่างไรก็ตาม คำอ่านและคำแปลดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ ข้อมูลรวมทั้งคำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้ปรากฏในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ของ อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ ซึ่งเป็นการศึกษาความหมายและลักษณะทางประติมานวิทยา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตราประทับ ที่พบในเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กับเมืองโบราณอื่นๆ ตราประทับที่พบมีทั้งที่ปรากฏตัวอักษรและเป็นรูปภาพต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตราประทับ (seals) คือ ตราที่ต้องนำไปประทับบนวัสดุอื่น จึงจะได้ภาพหรืออักษรที่เกิดจากการกดประทับในด้านกลับกัน และตรา (sealings) ซึ่งมีรูปหรืออักษรในด้านที่สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องกดประทับ

เนื้อหาโดยสังเขป

ปรากฏคำว่า “ปรม” ซึ่งมีความหมายว่า ยอดเยี่ยม หรือ อาจเป็นชื่อบุคคลก็ได้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปแบบอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11-12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 93-194.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547)