จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ (บนขอบหัวระฆัง)

จารึก

จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ (บนขอบหัวระฆัง)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2561 11:18:29 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 20:58:11 )

ชื่อจารึก

จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ (บนขอบหัวระฆัง)

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2210

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ ส่วนที่อยู่บนขอบหัวระฆัง มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

จารึกบนนาคที่อยู่บนส่วนหัวของระฆัง

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 ซม. สูง 57 ซม. รอบขอบหัวระฆังยาว 111 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดคงคาวดี ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอท่าศาลา) จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2519) : 74-78.

ประวัติ

หัวระฆังนี้ มีผู้หนึ่งบอกว่า ผู้ที่ไปแทงปลาแทงพลาดไปถูกหัวระฆังซึ่งจมอยู่ในน้ำ มีเสียงดังเหมือนถูกของแข็ง จึงลงไปในน้ำงมดู พบแล้วนำขึ้นมาเห็นเป็นหัวระฆัง แต่ตัวระฆังยังไม่พบ เมื่อพิจารณาเห็นว่ามีตัวอักษรที่ตัวนาค 4 ตัว มีจารึกข้างตัวนาค ด้านซ้ายและด้านซ้ายของนาคทั้ง 4 ตัว และที่ขอบหัวระฆัง แต่อักษรลบเลือนไปเสียมาก จึงนำไปมอบให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร หัวหน้ากองโบราณคดี ได้พิจารณาเห็นว่ามีตัวอักษรจึงได้ส่งหัวระฆังนั้นมาให้เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติอ่านแปล

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นข้อความของสมภารวัดกล่าวถึงการสร้างระฆังใบนี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ที่นาคตัวที่ 2 (ด้านซ้ายของนาค) ระบุศักราช 2210 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) แห่งพระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
ประสาร บุญประคอง และทองสืบ ศุภะมาร์ค, “จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์อักษรขอม ภาษาไทยและภาษามคธ,” ศิลปากร 16, 2 (กรกฎาคม 2519) : 74-78.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550