อายุ-จารึก พ.ศ. 2210, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกรูประฆัง, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างระฆัง,
โพสต์เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2561 17:48:06 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 21:01:54 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ นาคตัวที่ 1 (ด้านซ้ายของนาค) |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2210 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ ส่วนที่อยู่บนนาคตัวที่ 1 (ด้านซ้ายของนาค) มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
สัมฤทธิ์ |
ลักษณะวัตถุ |
จารึกบนนาคที่อยู่บนส่วนหัวของระฆัง |
ขนาดวัตถุ |
เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 ซม. สูง 57 ซม. รอบขอบหัวระฆังยาว 111 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดคงคาวดี ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอท่าศาลา) จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสาร ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2519) : 74-78. |
ประวัติ |
หัวระฆังนี้ มีผู้หนึ่งบอกว่า ผู้ที่ไปแทงปลาแทงพลาดไปถูกหัวระฆังซึ่งจมอยู่ในน้ำ มีเสียงดังเหมือนถูกของแข็ง จึงลงไปในน้ำงมดู พบแล้วนำขึ้นมาเห็นเป็นหัวระฆัง แต่ตัวระฆังยังไม่พบ เมื่อพิจารณาเห็นว่ามีตัวอักษรที่ตัวนาค 4 ตัว มีจารึกข้างตัวนาค ด้านซ้ายและด้านขวาของนาคทั้ง 4 ตัว และที่ขอบหัวระฆัง แต่อักษรลบเลือนไปเสียมาก จึงนำไปมอบให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร หัวหน้ากองโบราณคดี ได้พิจารณาเห็นว่ามีตัวอักษรจึงได้ส่งหัวระฆังนั้นมาให้เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติอ่านแปล |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ ชำรุด แปลความไม่ได้ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ที่นาคตัวที่ 2 (ด้านซ้ายของนาค) ระบุศักราช 2210 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) แห่งพระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก : |