จารึกที่แหล่งตัดหิน

จารึก

จารึกที่แหล่งตัดหิน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2561 16:28:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )

ชื่อจารึก

จารึกที่แหล่งตัดหิน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-22

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหิน

ขนาดวัตถุ

ไม่มีข้อมูล

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

แหล่งตัดหินทราย บริเวณเทือกเขาใกล้สำนักวิปัสสนาผาธรรมนิมิต ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

แหล่งตัดหินทราย บริเวณเทือกเขาใกล้สำนักวิปัสสนาผาธรรมนิมิต ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2531) : 46-48.

ประวัติ

จารึกนี้ถูกพบที่แหล่งตัดหินทรายที่บริเวณเทือกเขาใกล้สำนักวิปัสสนาผาธรรมนิมิตร อ. เมือง จ. พะเยา ส่วนของร่องรอยการตัดหินนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะนำมาใช้ในการจำหลักพระพุทธรูปและงานศิลปกรรมหินทรายที่พบเป็นจำนวนมาก

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกกล่าวว่ามีพระพุทธรูปอยู่ใต้หินก้อนนี้องค์หนึ่ง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้สันนิษฐานไว้ในบทความ “จารึกที่แหล่งตัดหินกับการกำหนดอายุศิลปะสกุลช่างพะเยา” ว่า จากหลักฐานทางด้านจารึกที่พบในเขตเมืองพะเยา ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 กับลักษณะรูปแบบของพระพุทธรูปแสดงถึงการผสมผสานกันทางด้านรูปแบบของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยและล้านนา ประกอบกับการพบจารึกบริเวณแหล่งหินตัดอาจถือเป็นหลักฐานสนับสนุนการกำหนดอายุพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาได้ทางหนึ่ง จึงอาจกล่าวในชั้นต้นนี้ว่า พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาได้มีการสร้างอย่างแพร่หลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 นี้เอง

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “จารึกที่แหล่งตัดหินกับการกำหนดอายุศิลปะสกุลช่างพะเยา,” ศิลปวัฒนธรรม 9, 12 (ตุลาคม 2531) : 46-48.

ภาพประกอบ

วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2531) : 46-48.