จารึกภาษาจีนที่ระฆังวัดไลย์

จารึก

จารึกภาษาจีนที่ระฆังวัดไลย์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 16:19:02 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 16:49:10 )

ชื่อจารึก

จารึกภาษาจีนที่ระฆังวัดไลย์

อักษรที่มีในจารึก

จีน

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

จีน

ด้าน/บรรทัด

จารึกรอบระฆัง จำนวน 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

เหล็ก

ลักษณะวัตถุ

ระฆังจีน

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วิหารพระศรีอาริย์ วัดไลย์ ตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารพระศรีอาริย์ วัดไลย์ ตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร เมืองโบราณ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551) : 131-137.

ประวัติ

ระฆังจีนใบนี้ถูกพบในวิหารพระศรีอาริย์หลังเดิม ภายในวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี ไม่ทราบประวัติความเป็นมา สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของที่มาถวายวัดเป็นพุทธบูชา ที่องค์ระฆังมีอักษรจีนปรากฏอยู่ 3 บรรทัด ตามแนวตั้งอย่างจีนมีลวดลายซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นสัญลักษณ์สิริมงคล ได้แก่ลายก้อนเมฆ ลายคัมภีร์ซ่างซู ลายผลท้อ ลายเต้า และลายดอกบัว

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกบนระฆังใบนี้เป็นคำอวยพรให้ประเทศสงบสุข ประชาชนร่มเย็น ฝนตกต้องตามฤดูกาล และพืชผลอุดมสมบูรณ์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศานติ และนวรัตน์ ภักดีคำ สันนิษฐานไว้ในบทความ “จารึกระฆังจีนที่วัดไลย์ ลพบุรี และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม” ว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง-ปลาย

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
ศานติ ภักดีคำ และนวรัตน์ ภักดีคำ, “จารึกระฆังจีนที่วัดไลย์ ลพบุรี และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม,” เมืองโบราณ 34, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551) : 131-137.

ภาพประกอบ

เมืองโบราณ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551)