จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 18 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1904, อายุ-จารึก พ.ศ. 1905, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินแปร, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-ประวัติศาสตร์เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 1, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พญาฦาไทย, บุคคล-พระมหาสามีสังฆราช, บุคคล-พญาฦาไทย, บุคคล-พระมหาธรรมราชาที่ 1,

จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาบาลี)

จารึก

จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาบาลี)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 09:43:06 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาบาลี)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 6 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง อักษรขอม ภาษามคธ จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาบาลี พุทธศักราช 1904, สท. 4

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1904

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 48 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 และ 4 ชำรุด ด้านที่ 3 มี 24 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินแปร

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม ทรงกระโจม หรือทรงยอ

ขนาดวัตถุ

กว้างด้านละ 33 ซม. 2 ด้าน, กว้างด้านละ 26.7 ซม. 2 ด้าน, สูง 130 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 4”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 6 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง อักษรขอม ภาษามคธ จังหวัดสุโขทัย”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาบาลี พุทธศักราช 1904”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/32/2560”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2451

สถานที่พบ

วัดป่ามะม่วง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์)

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้ตีพิมพ์ทั้งคำจารึกและคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยฝรั่งเศส เมืองฮานอย เมื่อ ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460)
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 100-104.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 242-249.

ประวัติ

เมื่อ พ.ศ. 2451 พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย ขุดพบศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ที่วัดป่ามะม่วง สุโขทัยหลักหนึ่ง ส่งมายังหอพระสมุดสำหรับพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 กรมศิลปากรได้ย้ายไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศิลาหลักนี้มีขนาดและลักษณะคล้ายกันกับหลักที่ 4 และหลักที่ 5

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้าน 1 เรื่องพญาฦๅไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1) เสด็จออกบรรพชา เมื่อวันพุธ แรม 8 ค่ำเดือน 12 พ.ศ. 1905 ด้าน 3 เป็นคำสรรเสริญและยอพระเกียรติคุณพญาฦๅไทย

ผู้สร้าง

พระมหาสามีสังฆราช

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุศักราช คือ พ.ศ. 1905

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาบาลี พุทธศักราช 1904,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 242-249.
2) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 6 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง อักษรขอม ภาษามคธ จังหวัดสุโขทัย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 ([กรุงเทพฯ] : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 100-104.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566