จารึกรอยบุญ

จารึก

จารึกรอยบุญ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 11:19:26 )

ชื่อจารึก

จารึกรอยบุญ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 33, พย. 33 จารึกรอยบุญ พุทธศตวรรษที่ 21-22, พย. 33 จารึกแผ่นอิฐร้อยบุญ

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-22

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม หักชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 61 ซม. สูง 8 ซม. หนา 20 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 33”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 33 จารึกรอยบุญ พุทธศตวรรษที่ 21-22”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 33 จารึกแผ่นอิฐร้อยบุญ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีอุโมงคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ รองเจ้าคณะภาค 6 จังหวัดพะเยา ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะ

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 172.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 420-423.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ (นายประสาร บุญประคอง, นายเทิม มีเต็ม) เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจจารึกในเขตท้องที่ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 พบแผ่นอิฐจารึกนี้ เก็บรักษาอยู่ที่วัดศรีอุโมงคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ภายหลังย้ายมาไว้ที่วัดศรีโคมคำ

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกชำรุด บอกเพียงว่าบุคคลชื่อ “รอยบุญ” มีความปรารถนาที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

ผู้สร้าง

รอยบุญ

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้จารึกหลักนี้เป็น จารึกอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21-22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 33 จารึกรอยบุญ พุทธศตวรรษที่ 21-22,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 172.
2) เทิม มีเต็ม, “พย. 33 จารึกแผ่นอิฐร้อยบุญ,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 420-423.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-22, ไฟล์; PY_33.photo_1)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 1 ธันวาคม 2566