โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2567 17:19:18 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดตระพังนาค |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สท. 33 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 21 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 14 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินดินดาน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 66 ซม. สูง 66 ซม. หนา 5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 33” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดตระพังนาค ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
ผู้พบ |
พระโบราณวัตถาจารย์ (ทิม) วัดราชธานี เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 58-62. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกหลักนี้ เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ ได้ทำการอัดสำเนาและถ่ายภาพจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย เมื่อคราวออกสำรวจเอกสารจารึก พ.ศ. 2515 ทราบว่า พระโบราณวัตถาจารย์ (ทิม) เจ้าอาวาสวัดราชธานี และเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้พบศิลาจารึกหลักนี้ที่วัดตระพังนาค แล้วมอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย แต่ทะเบียนประวัติจารึกไม่ได้ระบุว่าพบและมอบให้เมื่อใด ลักษณะของแผ่นจารึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมบาง ภายในหน้าที่มีจารึก มีกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกรอบรูปถ่าย ภายนอกกรอบทั้งสี่ด้านมีจารึกอักษรเริ่มต้นด้วยคำว่า นโม พุทฺธาย สิทฺธํ แล้วต่อด้วยสระและพยัญชนะไปจนจบ ต่อจากนั้นจึงเริ่มต้นด้วยบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ แต่บทสังฆคุณมีเพียงบทย่อเท่านั้น เข้าใจว่าคงเป็นเพราะเนื้อที่ของศิลาจารึกมีจำกัด ไม่พอกับข้อความนั่นเอง |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง สระและพยัญชนะไทย เข้าใจว่าคือตำราหรือแบบเรียนขั้นต้นของคนไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 21 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 |