จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม

จารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:21:07 )

ชื่อจารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 47

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปรอยพระพุทธบาท

ขนาดวัตถุ

กว้าง 67 ซม. สูง 69 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 47”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 43-46.

ประวัติ

ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุมนี้ เป็นจารึกที่ปรากฏรูปอักษรอยู่กลางรอยพระพุทธบาท ซึ่งใช้บอกชื่อสัญลักษณ์อันเป็นพุทธมงคล สำหรับรอยพระพุทธบาทชิ้นนี้ใช้พรหมโลก 16 ภูมิ (ชั้น) เป็นเครื่องหมายแห่งมงคลดังกล่าว เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา 2 แถว แต่เนื่องจากรอยพระพุทธบาทนี้ชำรุด เนื้อศิลาแตกหายไปมากกว่าครึ่ง จึงไม่อาจทราบได้ว่า รูปสัญลักษณ์แห่งมงคลพระพุทธบาทมีอะไรบ้าง นอกจากนั้น การเรียงลำดับชั้นพรหมในจารึก มิได้เป็นไปตามลำดับแถว แต่แบ่งกลุ่มของภูมิต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์เตภูมิกถา ในกลุ่มพรหมโลกรูปภูมิ 16 ดังนี้
1. ปฐมฌานภูมิ มี 3 ภูมิ คือ
1.1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
1.2 พรหมปุโรหิตาภูมิ
1.3 มหาพรหมาภูมิ
2. ทุติยฌานภูมิ มี 3 ภูมิ คือ
2.1 ปริตตาภาภูมิ
2.2 อัปปมาณาภาภูมิ
2.3 อาภัสสราภูมิ
3. ตติยฌานภูมิ มี 3 ภูมิ คือ
3.1 ปริตตสุภาภูมิ
3.2 อัปปมาณสุภาภูมิ
3.3 สุภกิณหาภูมิ
4. จตุตถฌานภูมิ มี 7 ภูมิ คือ
4.1 เวหัปปผลาภูมิ
4.2 อสัญญีสัตตาภูมิ
4.3 อวิหาภูมิ
4.4 อตัปปาภูมิ
4.5 สุทัสสาภูมิ
4.6 สุทัสสีภูมิ
4.7 อกนิฎฐาภูมิ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพรหมโลก 16 ภูมิ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นจารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 43-46.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)