โพสต์เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2558 14:18:30 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยลักษณะลำบองราหูอันเกิดในเดือน ๗) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน ๑ ด้าน ไม่ทราบจำนวนบรรทัด |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
คอสองของศาลาแม่ซื้อ ๙ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) ตำรายา ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร (พระนคร : โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ, ๒๕๑๖), ๑๐๗-๑๐๘. |
ประวัติ |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาบำเรอราชแพทยา นำตำรายามาจารึกบนแผ่นหินแล้วติดไว้ตามศาลารายหลังต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ความตอนหนึ่งว่า |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงลักษณะลำบองราหูอันเกิดในเดือน ๗ จากคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ โดยระบุถึงอาการและขั้นตอนการรักษาด้วยพิธีกรรม |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๔, จาก : |