จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2558 15:59:40 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2564 14:40:06 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 10, ลป. 10 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย พ.ศ. 2217

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2217

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

มีอักษรจารึก 3 บรรทัด ที่ด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ

ส่วนที่เป็นจารึกกว้าง 31.5 ซม. สูง 4 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 10”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 10 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย พ.ศ. 2217”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระมหาวัฒนา สุวุฒฺโฒ เจ้าอาวาสวัดพิชัย กล่าวว่า จารึกดังกล่าวถูกนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุมณีมงคล วัดพิชัย จ.ลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 230.

ประวัติ

-

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกระบุว่า หมื่นน้อยมงคลเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ตั้งแต่เมื่อครั้งยังบวชมีนามว่า เจ้าเพียรผระหยา

ผู้สร้าง

หมื่นน้อยมงคล

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. (10)36  ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2217 อันเป็นสมัยที่อุปราชอึ้งแซะปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2215-2218)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 10 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดวิชัย พ.ศ. 2217,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 230.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)