อายุ-จารึก พ.ศ. 2471, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-เจ้าแก้วนวรัฐ, วัตถุ-จารึกบนปูนซีเมนต์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดควรค่าม้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, บุคคล-หนานจัน, บุคคล-อ้ายเสาร์, บุคคล-นางบัวผัด,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2566 22:39:53 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดควรค่าม้า 5 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
239 วัดควรค่าม้า, ชม. 137 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2480 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ปูนซีเมนต์ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ |
ขนาดวัตถุ |
สูง 53 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 137” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 195-196. |
ประวัติ |
จารึกนี้อยู่ที่ฐานพระพุทธรูปปูนซีเมนต์ ปางสมาธิ ที่วัดควรค่าม้านี้มีพระพุทธรูปปูนซีเมนต์ 3 องค์ ลักษณะ และคำจารึกเหมือนกัน แต่ชื่อผู้เช่าต่างกัน องค์นี้เป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุด อีก 2 องค์ มีสภาพชำรุด |
เนื้อหาโดยสังเขป |
อ้ายเสาร์และนางบัวผัด รวมทั้งลูกชายหญิงทุกคนร่วมกันบริจาคเงินเพื่อบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ |
ผู้สร้าง |
อ้ายเสาร์ นางบัวผัดและลูกชายหญิง |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1299 ตรงกับ พ.ศ. 2480 ในสมัยพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (ครองเมืองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |