อายุ-จารึก พ.ศ. 2045, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนปูนหล่อ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นชิ้นส่วน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก,
โพสต์เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2558 14:05:18 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 14:49:59 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดอุทุมพรอาราม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ชม. 175, 1.4.1.1 วัดอุทุมพรอาราม พ.ศ. 2045, ชม. 175 จารึกวัดอุทุมพรอาราม พ.ศ. 2045 |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 2045 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ปูนหล่อ |
ลักษณะวัตถุ |
เศษชิ้นส่วน (ชำรุด) |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 14 ซม. สูง 15 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 175” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543), 199-214. |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เมื่อ พ.ศ. 2045 สมเด็จบพิตรพระมหาเทวีเจ้าได้ให้น้องพระเป็นเจ้า เจ้าพวกญานะคงคาต้องแต้ม และเจ้าพันเชาพุดร่วมกันประดิษฐานศิลาจารึกเพื่อประกาศรายชื่อข้าพระที่ถวายวัดอุทุมพร ห้ามมิให้ผู้ใดนำไปใช้ในงานอื่น |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 864 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2045 อันเป็นสมัยที่พญาแก้วปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2558, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 |