จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2322, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระยาวิเชียรปราการ, ยุคสมัย-จารึกสมัยธนบุรี, ยุคสมัย-จารึกสมัยธนบุรี-สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, วัตถุ-จารึกบนไม้, วัตถุ-จารึกบนไม้สัก, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างองค์พระธาตุ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ประดิษฐานพระธาตุ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงธนบุรี, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองกำแพงเพชร, บุคคล-พระยาวิเชียรปราการ,

จารึกพระยาหลวงวชิรปราการ

จารึก

จารึกพระยาหลวงวชิรปราการ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2558 14:53:24 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 16:21:33 )

ชื่อจารึก

จารึกพระยาหลวงวชิรปราการ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 19, ชม. 19 จารึกพระยาหลวงวัชชิรปราการอาราธนาพระธาตุฯ, 1.2.2.1 วัดพระธาตุศรีจอมทอง พ.ศ. 2323, ชม. 19 จารึกพระยาหลวงวชิรปราการ พ.ศ. 2322

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2322

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 28 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้สัก

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 41 ซม. สูง 80 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 19 จารึกพระยาหลวงวัชชิรปราการอาราธนาพระธาตุฯ”
2) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 10 กำหนดเป็น “1.2.2.1 วัดพระธาตุศรีจอมทอง พ.ศ. 2323”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 19 จารึกวัดพระธาตุศรีจอมทอง (พ.ศ. 2322)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุศรีจอมทอง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุศรีจอมทอง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 30 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 10 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548), 93-111.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 117, 70-76.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งเมื่อกษัตริย์อยุธยา (ธนบุรี) มีชัยเหนือล้านนา และได้อภิเษกพระยาหลวงวิเชียรปราการ จากกำแพงเพชร ให้เป็นเจ้าเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระยาหลวงวิเชียรปราการทรงเป็นผู้มีใจเลื่อมใสในศาสนา ได้มีศรัทธาให้ช่างสร้างแปงโกศเงินและโกศทองคำเพื่อใช้ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากปีที่ปรากฏในจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 15 คือ “เถิงปีกัดไค้ ศักราชได้ 1141” ตรงกับ พ.ศ. 2322 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลพระยาวิเชียรปราการ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ครองเมืองเชียงใหม่ (ครองราชย์ พ.ศ. 2317-2319, ภายหลังมีการเคลื่อนย้ายกำลังพลไปยังลำปาง ท่าวังพร้าว เวียงหนองล่อง วังสะแกงสบลี้ และถึงแก่พิราลัยในราว พ.ศ. 2322)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 19 จารึกพระยาหลวงวชิรปราการ พ.ศ. 2322,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 70-76.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)