จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดเบ็งสกัด

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดเบ็งสกัด

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 09:29:56 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดเบ็งสกัด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 17

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2052

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

ฐานกว้าง 16 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 17”
2) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดเบงสกัด”

ปีที่พบจารึก

พฤศจิกายน พ.ศ. 2523

สถานที่พบ

วัดเบ็งสกัด ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเบ็งสกัด ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 256-257.

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาในจารึก ได้กล่าวถึงเฉพาะปีจุลศักราช 871 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้ว ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ร่วมสมัยกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึก ระบุ จ.ศ. 871 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2052 ครั้งเมืองน่านขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ระหว่างที่หมื่นสามล้าน (พ.ศ. 2050-2052)-เจ้าเมืองแพ่สร้อย (พ.ศ. 2053-2056) ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ล้านนาให้เป็นเจ้าเมืองน่าน ตรงกับสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) ร่วมสมัยกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “ฐานพระพุทธรูป ฝาหีบพระธรรมและบานประตูที่พบในเมืองน่าน,” ใน เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 245-333.
2) สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, “ประวัติศาสตร์และเจ้าผู้ครองนคร,” ใน เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 47-72.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530)