จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกฐานพระเสตังคมณี

จารึก

จารึกฐานพระเสตังคมณี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 15:33:28 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระเสตังคมณี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 63, ชม. 63 จารึกฐานพระเสตังคมณี, หลักที่ 177 จารึกที่ฐานพระเสตังคมณี, 255 วัดเชียงมั่น

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2416

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

แผ่นโลหะปิดทอง สีเหลือง

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระเสตังคมณี

ขนาดวัตถุ

กว้าง 19.5 ซม. สูง 35.5 ซม. หนา 2 มิลลิเมตร

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 63 จารึกฐานพระเสตังคมณี”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 177 จารึกที่ฐานพระเสตังคมณี”
3) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “255 วัดเชียงมั่น”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 82-83.
2) คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 217-218.

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2416 เจ้าพระนครเชียงใหม่ และอัครราชเทวีแม่เจ้าทิพพเกษร พร้อมด้วยราชบุตรราชธิดาและพระญาติ ร่วมกันสร้างฐานพระเสตังคมณี หวังได้รับผลแห่งนิพพานโดยถ้วนหน้ากัน

ผู้สร้าง

เจ้าพระนครเชียงใหม่ และอัครราชเทวีแม่เจ้าทิพพเกษร พร้อมด้วยราชบุตรราชธิดาและพระญาติ

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 1235 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2416 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2416-2440)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) กรรณิการ์ วิมลเกษม, อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526), 12.
2) พระอธิการอินถา อินฺทจกฺโก, พระสมพงษ์ สมจิตฺโต และประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 177 จารึกที่ฐานพระเสตังคมณี,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 82-83.
3) ฮันส์ เพนธ์, “255 วัดเชียงมั่น,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 217-218.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)