อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13-14, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 13, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 14, ยุคสมัย-จารึกสมัยทวารวดี, วัตถุ-จารึกบนอิฐ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในสำนักหอสมุดแห่งชาติ, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เยธมฺมาฯ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 10:14:45 )
ชื่อจารึก |
จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐ (สุพรรณบุรี) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐ, หลักที่ 30 จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐ, สพ. 4 |
อักษรที่มีในจารึก |
หลังปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 13-14 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
แผ่นอิฐ |
ลักษณะวัตถุ |
สี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 16 ซม. ยาว 31 ซม. หนา 6 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สพ. 4” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2506 |
สถานที่พบ |
บ้านท่าม่วง ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ผู้พบ |
นายวีระ ปาณฑุรังคานนท์ ซื้อจากชาวบ้านท่าม่วง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดแห่งชาติ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 1-2. |
ประวัติ |
จารึกชิ้นนี้ เป็นแผ่นอิฐ ขุดพบที่บ้านท่าม่วง อำเภอจระเข้สามพัน จังหวัดสุพรรณบุรี นายวีระ ปาณฑุรังคานนท์ ได้ขอซื้อจากผู้ขุดพบแล้วนำมามอบให้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2506 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
คาถา เย ธมฺมาฯ นี้ นับว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นคาถาคัดมาจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา โดยมีเรื่องย่อว่า “สมัยนั้น สัญชัยปริพาชก (ปริพาชก คือ นักบวชที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา) อาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน 250 คน และสมัยนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง สารีบุตรปริพาชกได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อๆ ให้ฟังว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น สารีบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพาชก 250 คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ สัญชัยขอให้อยู่กันบริหารหมู่คณะถึง 3 ครั้ง แต่สาริบุตรกับโมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพาชก อีก 250 คน สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต เมื่อปริพาชกทั้งหลาย ได้ไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระไตรปิฎกฉบับประชาชน ภาค 4 ความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม 4, 2539, หน้า 217)” |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
เดิมกำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 แต่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 ฉบับที่พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2559 ระบุว่าเป็นอักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 13-14 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 |