จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 22 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2354, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระเจ้ากาวิละ, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในวัดพระสิงห์ เชียงใหม่, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเงิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระเจ้ากาวิละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พญาแสนเมืองมา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระเมืองแก้ว, บุคคล-พระเจ้ากาวิละ, บุคคล-พญาแสนเมืองมา, บุคคล-พระเมืองแก้ว,

จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์

จารึก

จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2557 16:18:05 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 10:20:09 )

ชื่อจารึก

จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม.12, ชม. 12 จารึกมหาอารามราชสัณฐานสิงห์หลวง, ชม. 12 จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์ พ.ศ. 2354

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2354

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 มี 24 บรรทัด, ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 53 ซม. ยาว 89 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 12 จารึกมหาอารามราชสัณฐานสิงห์หลวง”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 12 จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์ พ.ศ. 2354”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระสิงห์ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดพระสิงห์ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ข้อมูลเดิมอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 37-39.

ประวัติ

ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อวันพุธ เพ็ญเดือน 6 จุลศักราช 1173 พระมหาธรรมิกราชาธิราช เจ้าเมืองเชียงใหม่, พระมหาอุปราชานรินทา, เจ้าราชบุตร-ราชนัดดา, พระอัครมเหสี ตลอดจนเสนาอำมาตย์ ได้นิมนต์สมเด็จพระสังฆราชเพื่อร่วมสร้างพระอุโบสถหลังนี้ ซึ่งประดับด้วยลายทองสวยงามตามแบบโบราณ เช่นเดียวกับในสมัยของบูรพกษัตริย์ ได้แก่ พระเจ้าแสนเมืองมา และพระเมืองแก้ว มีการบริจาคเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประดับตกแต่งพระอุโบสถ

ผู้สร้าง

พระเจ้ากาวิละ

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 2 ระบุจุลศักราช 1173 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2354 อันเป็นสมัยที่พระเจ้ากาวิละปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2325-2356)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 12 จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์ พ.ศ. 2354,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 37-39.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-32, ไฟล์; ChM_1201_c และ ChM_1202_c)