จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ)

จารึก

จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 10:54:17 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 300 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

หน้าตักกว้าง 10 ซม. สูง 19 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 300 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเขาพระบาทน้อย นอกเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 87-88.

ประวัติ

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงกล่าวว่า เดิมได้มาจากวัดเขาพระบาทน้อย นอกเมืองเก่าสุโขทัย

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงชื่อบุคคล คือ พระออกหมื่นโปศเทพ

ผู้สร้าง

พระออกหมื่นโปศเทพ

การกำหนดอายุ

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ให้ความเห็นว่า รูปอักษร “อ” และ “ก” ที่ปรากฏอยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า จารึกหลักนี้น่าจะได้ทำขึ้นราวหลังพุทธศักราช 2053 ไปแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
ประเสริฐ ณ นคร, “หลักที่ 300 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (ออกหมื่นโปศเทพ),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 87-88.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534)