จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1706/2518

จารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1706/2518

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2557 14:58:28 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 17:53:40 )

ชื่อจารึก

จารึกบนตราดินเผา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ทะเบียนเลขที่ 1706/2518

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

ยังไม่เป็นที่ยุติ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

ตรา (sealings) สีน้ำตาลดำ รูปทรงค่อนข้างกลม

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.8 ซม. หนา 2.8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “1706/2518”

สถานที่พบ

เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 99-100.

ประวัติ

ตราดินเผานี้มีสภาพชำรุด ทำด้วยดินเผาสีน้ำตาลดำ รูปทรงค่อนข้างกลมแบน ลักษณะเป็นรูปรอยนูนต่ำขึ้นมาจากพื้นผิวเป็นรูปสิงห์นั่งด้านที่เห็นเป็นรูปด้านขวาของสิงห์ ด้านหลังรูปสิงห์เป็นหางที่ตั้งขึ้นมาตามแนวลำตัวแล้วโค้งออกไป รูปสิงห์หันหน้าไปทางขวา บนศีรษะมีลักษณะเป็นเส้นนูนขนาดเล็ก ด้านหน้ารูปสิงห์มีเส้นนูนทำเป็นลักษณะคล้ายกรอบเหลี่ยมกั้นอยู่ ถัดจากกรอบไปเป็นตัวอักษรในด้านขวาง

เนื้อหาโดยสังเขป

ระบุถึงข้อความว่า “ย ต” ซึ่งยังไม่สามารถวินิจฉัยหรือวิเคราะห์ความหมายได้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม กำหนดอายุจากรูปแบบอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 93-194.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547)