จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ)

จารึก

จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 10:53:41 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 298 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20 (ตอนต้น)

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ประทับนั่งสมาธิราบปางมารวิชัย

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 298 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ)”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2507

สถานที่พบ

วัดลาวพันลำ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 83-84.

ประวัติ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงนามผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างพระพุทธรูป พร้อมทั้งระบุความปรารถนาแห่งตนให้ได้อานิสงส์แห่งการสร้างพระพุทธรูปนั้น เป็นผลบุญหนุนส่งให้ได้พบพระศรีอาริยเมตตรัย ซึ่งได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต

ผู้สร้าง

ผู้มีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูป ได้แก่ นายญี่บุญ, แม่จัน, นางเริ่ม, นางไร, เจ้าไสอานนท์, นางยอด

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรไทยสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และเทิม มีเต็ม, “หลักที่ 298 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัย (นายญี่บุญ),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 83-84.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534)