จารึกพระปิฎก

จารึก

จารึกพระปิฎก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 15:05:25 )

ชื่อจารึก

จารึกพระปิฎก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 296 จารึกพระปิฎก, พร. 4 จารึกรัตนดิลก พุทธศตวรรษที่ 21-23, พร. 4

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 19 ตอนปลาย

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด (ในหนังสือ จารึกล้านนา ว่า มี 8 บรรทัด)

วัตถุจารึก

หินชนวน สีเทา

ลักษณะวัตถุ

เป็นแผ่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศิลาจารึกที่ชำรุดแตกหัก

ขนาดวัตถุ

กว้าง 4 ซม. สูง 36 ซม. หนา 6.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พร. 4”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 296 จารึกพระปิฎก”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พร. 4 จารึกรัตนดิลก พุทธศตวรรษที่ 21-23”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/305/2550"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดแพร่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 250.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 77-79.

ประวัติ

จารึกหลักที่ 296 (จารึกพระปิฏก) และจารึกหลักที่ 295 (จารึกอุทิศสิ่งของ) นั้นใช้ตัวอักษรที่คล้ายคลึงกันมากกับตัวอักษรในศิลาจารึกจากแพร่อีกหลักหนึ่งคือ หลักที่ 107 (จารึกวัดบางสนุก) ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลักที่ 107 (จารึกวัดบางสนุก) ใช้ตัวอักษรใกล้เคียงกับจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาก ยิ่งกว่าจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ เมื่อได้พิจารณาแล้ว เห็นได้ว่า จารึกพระปิฎก และจารึกอุทิศสิ่งของ เป็นจารึกสมัยเดียวกับ จารึกวัดบางสนุก อายุราว 1882 และเป็นหลักฐานประกอบว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ใช้ตัวอักษรรูปเดิมซึ่งวิวัฒนาการกลายมาเป็นรูปอักษรสมัยพระเจ้าลิไทย ตัวอักษรรูปเดิมนี้หลายตัวยังปรากฏอยู่ในจารึกจากจังหวัดแพร่

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความที่เหลืออยู่ 7 บรรทัด ไม่ต่อเนื่องกัน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศิลาจารึกนี้ หากพิจารณาวัตถุแล้ว คือ ชนิดของศิลา และอักษรตลอดจนอักขรวิธีที่ใช้ มีลักษณะแบบเดียวกันกับ หลักที่ 295 (จารึกอุทิศสิ่งของ) น่าสันนิษฐานได้ว่า ศิลาจารึก หลักที่ 296 (จารึกพระปิฎก) และ หลักที่ 295 (จารึกอุทิศสิ่งของ) เป็นชิ้นส่วนของจารึกแผ่นเดียวกัน ระยะอายุกาลจารึก ปลายพุทธศตวรรษที่ 19

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., 2546, จาก:
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พร. 4 จารึกรัตนดิลก พุทธศตวรรษที่ 21-23,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 250.
2) เทิม มีเต็ม, “หลักที่ 296 จารึกพระปิฎก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 77-79.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-30, ไฟล์; พร.4 .รูป1)