ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อนสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-วรรณกรรม-ชาดก, บุคคล-พระพุทธเจ้าและพุทธสาวก,
โพสต์เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2556 11:33:03 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 23:02:39 )
ชื่อจารึก |
จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 540 (สุวรรณสามชาฎก) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ 16 ศาลานี้ใช้เป็นห้องสมุดโรงเรียนวัดพระเชตุพน ลำดับที่ 540 (สุวรรณสามชาฎก) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นหิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ศาลารายหลังที่ 16 (ศาลานี้ใช้เป็นห้องสมุดโรงเรียนวัดพระเชตุพน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 201.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 203. |
ประวัติ |
จารึกอรรถกถาชาดก อยู่ในบริเวณศาลาราย 16 หลัง ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมมีภาพจิตรกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว สำหรับจารึกได้สูญหายไปบางส่วน เนื่องจากมีการรื้อศาลา 8 หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีการเรียงลำดับอย่างไม่เป็นระเบียบ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการปฏิสังขรณ์วัดในสมัยหลัง ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแล้วนำกลับไปติดไว้ผิดจากตำแหน่งเดิม
จากการศึกษาของ นิยะดา เหล่าสุนทร พบว่า ศาลารายแต่ละหลังจะมีจารึกจำนวน 36 หรือ 39 เรื่อง จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยชาดก 1 เรื่อง เว้นแต่ชาดกเรื่องสำคัญบางเรื่องซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า 1 แผ่น
|
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง สุวรรณสามชาดก ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นบุตรทุกุลบัณฑิต ครั้งนั้นกุลบัณฑิตและภรรยาถึงแก่ตาบอด สุวรรณสามผู้บุตรก็ดูแลปรนนิบัติบิดามารดาเป็นอย่างดี วันหนึ่งไปตักน้ำ พญากบิลยักษ์ซึ่งกำลังล่าสัตว์เห็นสุวรรณสามคิดว่าเป็นรุกขเทวาจึงแผลงศรไปโดนเข้า สุวรรณสามคร่ำครวญถึงบิดามารดาซึ่งตาบอด พญากบิลยักษ์จึงรับจะไปดูแลแทน |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมชาดก 550 เรื่อง โดยมีการจารึกประกอบไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)
|
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2551) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก:
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “ศาลารายหลังที่ 16 ศาลานี้ใช้เป็นห้องสมุดโรงเรียนวัดพระเชตุพน,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 200-202. 3) “ศาลารายหลังที่ 16 ศาลานี้ใช้เป็นห้องสมุดโรงเรียนวัดพระเชตุพน,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 202-204. 4) “จารึกเรื่องอรรถกถาชาดก,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 143-145. |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์, 2552-2554 (ไฟล์; DSCF4950) |