โพสต์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2556 16:40:17 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 04:28:47 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง ห้องที่ 10 (บทที่ 8 ทุคคาหทิฏฐิภุชเคนะ สุทฏฐหัตถัง) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังพระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 128.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 130.
|
ประวัติ |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง 8 บท ติดอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศใต้ จำนวน 10 ห้อง เดิมมีภาพเขียนติดไว้เคียงกันกับแผ่นศิลาจารึก แต่ปัจจุบันภาพเขียนเหล่านั้นไม่มีแล้ว มีเพียงศิลาจารึกที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง พาหุง บทที่ 8 “ทุคคาหทิฏฐิภุชเคนะ สุทฏฐหัตถัง” ใจความว่า ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าพำนักอยู่ ณ ป่าศุภตรัน ใกล้เมืองอุกกัฐนคร พระองค์พิจารณาด้วยญาณเห็นท้าวพกาพรหมกับพรหมบริษัท 1,000 องค์ จึงเสด็จขึ้นไปสู่พรหมโลก ท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาก็ร้องเรียกด้วยถ้อยคำหยาบกระด้าง เรียกแล้วก็ใช้มนต์กำบังกายเพื่อซ่อนตัว แต่มนต์นั้นไม่ได้ผล ซ่อนตัวไม่ได้ ภาพของท้าวพกาพรหมที่นั่งกอดเข่าอยู่จึงปรากฎขึ้น หมู่พรหมอื่นๆ เห็นดังนั้นก็หัวเราะเยาะเย้ยด้วยความขบขัน ทำให้ท้าวพกาพรหมอับอายอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาแก่ท้าวพกาพรหมกับพรหมบริษัททั้ง 1,000 จนสำเร็จมรรคผล
|
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก : |