โพสต์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2556 01:37:30 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 04:11:35 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง ห้องที่ 5 (บทที่ 3 นาฬาคิริง คชวรัง อติมัตตภูตัง) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังพระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 127.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 129.
|
ประวัติ |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง 8 บท ติดอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศใต้ จำนวน 10 ห้อง เดิมมีภาพเขียนติดไว้เคียงกันกับแผ่นศิลาจารึก แต่ปัจจุบันภาพเขียนเหล่านั้นไม่มีแล้ว มีเพียงศิลาจารึกที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง
|
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง พาหุง บทที่ 3 “นาฬาคิริง คชวรัง อติมัตตภูตัง” ใจความว่า พระเทวทัตคิดจะฆ่าพระพุทธเจ้าจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคิรี แล้วปล่อยช้างให้ไปวิ่งบนถนนที่พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต พระพุทธเจ้าได้พบกับช้างนั้นและได้ทรมานมันให้หายจากอาการเมาเหล้า
|
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก : |