โพสต์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2556 00:26:25 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 04:06:31 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง ห้องที่ 3 (บทที่ 2 มาราติเรกมภิยุชฌิตสัพพรัตติง (ต่อ)) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังพระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 126-127.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 128-129.
|
ประวัติ |
จารึกเรื่องฏีกาพาหุง 8 บท ติดอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศใต้ จำนวน 10 ห้อง เดิมมีภาพเขียนติดไว้เคียงกันกับแผ่นศิลาจารึก แต่ปัจจุบันภาพเขียนเหล่านั้นไม่มีแล้ว มีเพียงศิลาจารึกที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึง พาหุง บทที่ 2 (ต่อจากห้องที่ 2) เมื่อพญาอาลวีกลับมาถึงอาลวีนคร พระองค์ได้ปลดนักโทษ แล้วให้นักโทษนั้นแบกสำรับไปส่งยังอาฬวกยักษ์จนหมดจากที่คุมขัง จากนั้นพระองค์ได้บัญชาให้ส่งทารกไปเป็นอาหารยักษ์ หญิงมีครรภ์ทั้งหลายก็พากันหนีไปอยู่เมืองอื่น จนทั้งเมืองไม่เหลือแล้วซึ่งทารก พระองค์จึงสั่งให้เตรียมนำราชบุตรนามว่า อาลวีกุมาร ไปส่งให้ยักษ์ในวันรุ่งขึ้น คืนนั้น พระพุทธเจ้านิมิตเห็นความเป็นไปของอาฬวกยักษ์และอาลวีกุมาร จึงเสด็จมายังวิมานอาฬวกยักษ์ แม้ยักษ์ซึ่งรักษาประตูทูลห้ามพระองค์ก็ไม่ฟัง เสด็จเข้าไปเทศนาถึงในวิมาน ฝูงนางเทพบริจาริกาซึ่งทราบถึงการมาของพระพุทธเจ้า ต่างก็มาเฝ้าพร้อมกัน สาตาคิริยักษ์และเหมวตายักษ์ซึ่งต่างก็เหาะมาถึงวิมาน แต่ไม่อาจเหาะผ่านไปได้ มีอันให้ตกลงมาจากบนฟ้า แล้วเลยเข้าไปถวายนมัสการพระพุทธเจ้าด้วยกัน
|
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก : |