อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-บวงสรวงขอบุตร, เรื่อง-ประวัติและตำนาน, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-วันสงกรานต์,
โพสต์เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2556 16:33:35 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2566 20:32:54 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ แผ่นที่ 6 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หิน |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
คอสองเฉลียงศาลาทิศพระมณฑปหลังเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 290.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 292.
|
ประวัติ |
จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ ปรากฏอยู่บนคอสองเฉลียงศาลาทิศพระมณฑปหลังเหนือ มีทั้งหมด 7 แผ่น ปัจจุบันสูญหายไปหมดแล้ว ข้อมูลที่ลงพิมพ์ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน นั้น เป็นข้อมูลที่คัดจากหนังสือเล่มอื่น (ไม่ทราบชื่อหนังสือ-ผู้เรียบเรียง) มาลงพิมพ์ให้ครบถ้วนเท่านั้น ในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ระบุถึงจารึกเรื่องมหาสงกรานต์นี้เพียงว่า ปรากฎอยู่ที่คอสองเฉลียงศาลาทิศพระมณฑปหลังเหนือ ร่วมกับจารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เนื้อหาจารึกเป็นเรื่องราวต่อจาก จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ แผ่นที่ 5 กล่าวคือ เมื่อครบกำหนด 7 วัน ท้าวกระบิลพรหมลงมาถามปัญหา 3 ข้อ แก่ธรรมบาลกุมาร ธรรมบาลกุมารก็ตอบปัญหาตามที่ได้ยินจากนกอินทรีย์มา เมื่อธรรมบาลกุมารตอบปัญหาได้ดังนั้น ท้าวกระบิลพรหมจึงต้องโดนตัดเศียรตามที่ตกลงไว้ พระองค์ตรัสเรียกธิดาทั้ง 7 มาพร้อมกัน แล้วแจ้งว่า เศียรตนจะต้องถูกตัดแต่จะปล่อยให้เศียรตกลงพื้นดินไม่ได้ เพราะจะเกิดไฟไหม้ไปทั่วโลก จะโยนเศียรขึ้นฟ้าก็ไม่ได้ เพราะฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งทะเล น้ำก็จะแห้ง จึงขอให้ธิดาทั้ง 7 นำพานมารับเศียรนี้ไว้ แล้วท้าวกระบิลพรหมก็ตัดเศียรส่งให้นางมลทากิณีธิดาองค์โต |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล (2556), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “จดหมายเหตุเรื่อง การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73. 3) “จารึกเรื่องมหาสงกรานต์,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 291-292. 4) “เรื่องมหาสงกรานต์,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 289-290. |