จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 2 (ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ)

จารึก

จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 2 (ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2556 10:14:31 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2566 20:46:52 )

ชื่อจารึก

จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 2 (ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2364

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้าง ยาว ด้านละ 33 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เรียกว่า “จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 2”

สถานที่พบ

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลารายหน้าพระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2554), 39-41.

ประวัติ

จารึกตำรายาวัดราชโอรสฯ มีจำนวน 50 แผ่น มีขนาดเท่ากันทุกแผ่น ติดอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ จำนวน 42 แผ่น และติดอยู่ที่ผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถ 2 ศาลา ศาลาละ 4 แผ่น จากข้อมูลในหนังสือ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (พ.ศ. 2541) ระบุไว้ว่า ก่อนการบูรณะพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2525 จารึกตำรายานี้ มีจำนวนถึง 92 แผ่น คาดว่าคงจะชำรุดหรือสูญหายไปกว่าครึ่ง เมื่อมีการบูรณะขึ้นใหม่ จึงพบว่าเหลือเพียง 50 แผ่นในปัจจุบัน นอกจากนั้น จารึกหลายแผ่นคงพลัดหลงจากตำแหน่งที่เคยติดอยู่เดิม เมื่อนำมาติดขึ้นใหม่จึงสลับและไม่เรียงลำดับกันตามเนื้อหาหรือกลุ่มโรค

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึง “โรคสำหรับบุรุษ” ระบุอาการของโรค รายชื่อสมุนไพรที่ใช้ประกอบเครื่องยา วิธีปรุงยา และวิธีใช้ยา

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2364 โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ขณะดำรงพระยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล (2556), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “ความนำจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร,”  ใน จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545), 18-28.
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และคณะ, “ภาพจารึก คำจารึก และคำอ่าน,” ใน จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545), 39-41.
3) พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, “ศึกษาเปรียบเทียบ จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหารกับจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร,” ใน จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545), 35-423.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 16 มีนาคม 2556